“เสื่อกก ลายขิด” ตำนานชีวิตลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงลายทอ ก่อเกิดรายได้
“เสื่อกก ลายขิด” ตำนานชีวิตลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงลายทอ ก่อเกิดรายได้ Read More »
U2T มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จัดกิจกรรม ชม ชิม ช็อป ตำบลเขาสวนกวาง ภายใต้โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน (ตำบลเขาสวนกวาง) เมื่อวันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2564 U2T มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จัดกิจกรรม ชม ชิม ช็อป ตำบลเขาสวนกวาง ภายใต้โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน (ตำบลเขาสวนกวาง) โดยมี ศ.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม ชม ชิม ช็อป ตำบลเขาสวนกวาง ภายใต้การดำเนินโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กล่าวรายงานโดย ดร.วิตติกา ทางชั้น ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและบัณฑิตศึกษา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ผู้ดูแลโครงการ ซึ่งจัดโดยคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาสวนกวาง ตำบลเขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ภายในงานมีการอบรม เชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ การจำลองการท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด 7 สถานที่ ได้แก่ วัดตาดฟ้า วัดป่าหนองสองห้อง อ่างเก็บน้ำหนองตะนา ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสาน
มข. นำโครงการ U2T เพิ่มช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ชุมชน ตำบลเขาสวนกวาง จังหวัขอนแก่น Read More »
สำนักข่าว : campus.campus-star.com URL : https://campus.campus-star.com/variety/146870.html วันที่เผยแพร่ : 9 ก.ย. 2564
U2T ม.ขอนแก่น สอนทำสบู่น้ำมันธรรมชาติ สร้างอาชีพเสริมแก่ชาวบ้าน Read More »
สำนักข่าว : esandailyonline.com URL : https://www.esandailyonline.com/92756 วันที่เผยแพร่ : 9 ก.ย. 2564
ขอนแก่น-สำนักบริการวิชาการ รายงานความก้าวหน้าโครงการ U2T ต่อ ผช.รมต.อว. Read More »
สำนักข่าว : thainews.easybranches.com URL : https://www.thainews.easybranches.com/trend/2328579 วันที่เผยแพร่ : 9 ก.ย. 2564
โครงการ University to Tambon หรือ U2T เพื่อการยกระดับสังคมรายตำบลแบบบูรณาการองค์ความรู้โดยและขับเคลื่อนกิจกรรมโดยมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปสู่ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน และเกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแม่ข่ายอีสานตอนบนได้บูรณาการคณะหน่วยงานถึง 16 ส่วนงานเข้าดำเนินงานรับผิดชอบ 135 ตำบล ในช่วงปลาย เดือนกรกฎาคมนี้ ทีมปฏิบัติงานตำบลดินดำ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งรับผิดชอบโดย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลดินดำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล บ้านดินดำ อสม. ผู้ใหญ่บ้าน และ ครู นักเรียน และกลุ่มจิตอาสา และทีมผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ได้มีการทำความสะอาดพื้นที่เป็นกิจกรรม Big cleaning Day เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในโรงเรียนดินดำวังชัยวิทยา และโรงเรียนอีกสามแห่งภายในตำบลดินดำ จัดตั้งศูนย์พักคอยภายในชุมชน (Community Isolation)ภายในชุมชน ให้พร้อมรองรับผู้ที่ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรง เป็นการแบ่งเบาอำนวยความสะดวก
U2T คณะเกษตรศาสตร์ จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การขยายพันธุ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และพืชเอกลักษณ์ท้องถิ่นในป่าชุมชน” ณ วัดป่าสีลธโน และวัดป่าคีรีวัน ตำบลโคกงาม อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล: U2T) ที่รับผิดชอบพื้นที่โดยสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ปฏิบัติการ “การขยายพันธุ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และพืชเอกลักษณ์ท้องถิ่นในป่าชุมชน” ณ วัดป่าสีลธโน และวัดป่าคีรีวัน ตำบลโคกงาม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลโคกงาม อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น โดยมี อาจารย์ ดร.ศุภณัฏฐ์ กาญจนวัฒนาวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาพืชสวนและผู้ประสานงานตำบลโคกงาม พร้อมคณะทำงาน ดำเนินการจัดการฝึกอบรมฯ เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชเอกลักษณ์ท้องถิ่น ได้แก่ ฝางเสน เพื่อการใช้ประโยชน์ในเป็นรายได้หมุนเวียนในอานคต อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้กับชุมชนอีกด้วย โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ “การขยายพันธุ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และพืชเอกลักษณ์ท้องถิ่นในป่าชุมชน” ซึ่งเป็นจัดอยู่ในการพัฒนาด้านการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้ชุมชน) ตามวัตถุประสงค์ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการฯ กิจกรรมนี้เกิดขึ้นจากทางอาจารย์ผู้ประสานงานพื้นที่ อาจารย์ ดร. ศุภณัฏฐ์ กาญจนวัฒนาวงศ์ สาขาพืชสวน ผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพืชเอกลักษณ์ท้องถิ่นและสมุนไพรได้เล็งว่า