มข.ชูแนวคิด “อาคารสีเขียว” ลดโลกร้อน-รับมืออากาศแปรปรวน เดินหน้าปรับภูมิทัศน์เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
พายุฤดูร้อนกระหน่ำไม่ทันตั้งตัวจนต้นไม้หักโค้นถูกพัดลอยไปติดกับสายไฟฟ้า กลายเป็นภาพไวรัลในสื่อสังคมออนไลน์ที่ใครหลายคนส่งต่อด้วยรอยยิ้มขบขัน แต่ภาพที่เห็นนี้กลับเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ นั่นคือ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง โดยเกิดจากภาวะโลกร้อน รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร รองอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า สภาพอากาศปัจจุบันไม่แน่นอน ฤดูร้อนและฤดูฝนทับซ้อนกัน อุณหภูมิสูงเกิน 50 องศาเซลเซียส ฝนตกหนัก ลมพัดแรง และฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นปัญหาประจำปี ซึ่งการก่อสร้างอาคารและการใช้ชีวิตของมนุษย์เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ในอดีตเมืองมีต้นไม้ปกคลุม แต่ปัจจุบันอาคารแน่นหนา ใช้วัสดุสะสมความร้อน เช่น เหล็ก กระจก และคอนกรีต ส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมสูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในเวลากลางวัน ยามเย็นฝนก็ตกหนัก ลมพัดแรง เพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง รู้จัก ‘อาคารสีเขียว’ นวัตกรรมออกแบบแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยขอนแก่นตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ พร้อมเดินหน้าปรับภูมิทัศน์มหาวิทยาลัยด้วยแนวคิด “อาคารสีเขียว” โดยเน้นการออกแบบที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การจัดสรรพื้นที่โล่งเพื่อซับน้ำฝน ลดปัญหาน้ำท่วม ไปจนถึงการวางแผนให้แต่ละอาคารสามารถกักเก็บน้ำฝนและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ โดยปัจจุบัน มข. ได้ใช้ระบบรีไซเคิลน้ำไปแล้วถึง 30% อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะการลดการใช้เครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัย ควบคู่ไปกับการเลือกใช้ระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง ขณะเดียวกัน การออกแบบอาคารต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งาน ทั้งแสงสว่างที่เพียงพอ ระบบระบายอากาศที่เหมาะสม การป้องกันเสียงรบกวน และการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยรอบให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นยังส่งเสริมแนวคิดการออกแบบอาคารให้เป็นนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้งานได้อย่างสมดุล เตือนดูแลทรัพย์สินช่วงพายุฝน […]