กฎหมายสมรสเท่าเทียม

มข.ร่วมฉลองนาทีประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียมครั้งแรกของขอนแก่น หนุนก้าวสำคัญของสังคมไทย

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 16.30 น มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน เข้าร่วมงาน “คู่รัก ฮักแพง เบิ่งแยงกัน” เพื่อเฉลิมฉลองกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งได้รับเกียรติจากนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธี มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน ณ สะพานราชพฤกษ์วิถี บึงแก่นนคร          ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนความเท่าเทียมและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้แก่ SDG 5: ความเท่าเทียมทางเพศ และ SDG 10: ลดความเหลื่อมล้ำ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมให้มีความเสมอภาคและเปิดกว้างสำหรับทุกคน ขอแสดงความยินดีกับทุกคู่รัก และวันนี้ถือเป็นก้าวประวัติศาสตร์สำคัญของสังคมไทย”        นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น  “กล่าวแสดงความยินดีกับคู่สมรสทุกท่าน และเน้นย้ำว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการสร้างสังคมที่เคารพและยอมรับความหลากหลายทางเพศ และยังได้ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันจัดกิจกรรมนี้ขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจและความสำคัญของความเท่าเทียมในสังคมไทยงาน “คู่รัก ฮักแพง […]

มข.ร่วมฉลองนาทีประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียมครั้งแรกของขอนแก่น หนุนก้าวสำคัญของสังคมไทย Read More »

ความเท่าเทียมทางเพศกับบทบาทธุรกิจและเศรษฐกิจ

ปัจจุบันโลกเปิดกว้างและให้การยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายของมนุษย์มากขึ้น โดยฉพาะอย่างยิ่ง “ความหลากหลายทางเพศ” จะเห็นได้ว่าในเดือนมิถุนายนของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น “เดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ” หรือ “Pride Month” นอกจากนี้ “สีรุ้ง” ก็ได้ถูกนำมาใช้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับคนเหล่านี้อย่างแพร่หลายและใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ+ โดยมีผู้คนและองค์กรต่างๆ ทั่วโลกออกกิจกรรมหรือแคมเปญ เพื่อส่งเสริม “กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ” ซึ่งจะเห็นได้จากการเดินขบวนพาเหรดของกลุ่ม LGBTQ+ รวมถึงหลายคนต่างเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในโซเชียลของตนให้มีสีรุ้งแทรกอยู่นั่นเอง ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการยอมรับและเปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเพศมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดและอุปสรรคอยู่บ้าง แต่การที่สังคมไทยมีการยอมรับและสนับสนุน LGBTQ+ มากขึ้น ส่งผลให้มีการพัฒนาทางธุรกิจและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการแสดงออกถึงรวมถึงผลักดันสิทธิและเสรีภาพสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หนึ่งในนั้นคือการผลักดันเรื่อง “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” ซึ่งในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา มติที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภา ได้เห็นชอบให้มี “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” โดยจะมีผลบังคับใช้หลังประกาศใน 120 วัน ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย และเป็นก้าวสำคัญของสังคมไทย ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นประเทศแรกในอาเซียน และได้ใช้สิทธิของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ธุรกิจบริการที่จะมีโอกาสเติบโตจากการมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีหลากหลายธุรกิจ อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยวและร้านอาหาร ธุรกิจประกันภัยและธุรกิจทางการเงิน ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานแต่งงาน เช่น ธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพ ธุรกิจเช่าชุดแต่งงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอื่น ๆ เฉพาะกลุ่ม เช่น ธุรกิจการให้คำปรึกษาและการวางแผนครอบครัวสำหรับคู่รักหลากหลายเพศ

ความเท่าเทียมทางเพศกับบทบาทธุรกิจและเศรษฐกิจ Read More »

เลื่อนไปด้านบน