PM 2.5 dust

Local Administration College, KKU, raises PM 2.5 crisis from Isan breath to urgent national policy agenda

ท่ามกลางวิกฤตฝุ่นพิษที่ปกคลุมหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าแสดงบทบาทเชิงรุก จัดเวทีเสวนาวิชาการภายใต้หัวข้อ “ลมหายใจของชาวอีสาน : PM 2.5 กับวาระของท้องถิ่น” เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เชิงยุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างยั่งยืน งานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมอุดร ตันติสุนทร ภายในวิทยาลัยฯ โดยในงานมีผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลากหลายพื้นที่เข้าร่วมอย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นจากจังหวัดนครราชสีมา อำนาจเจริญ อุดรธานี และขอนแก่น พร้อมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน คือ อ.ดร.ชัชวาล อัยยาธิติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ดร.นิลวดี พรหมพักพิง นักวิจัยประจำกลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WeSD) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาร่วมให้ความรู้ สถานการณ์วิกฤติ PM 2.5 และการรับมือในระดับพื้นที่อย่างครอบคลุม การเสวนาครั้งนี้ไม่เพียงมุ่งให้ความรู้แก่ผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายต่อระดับคณะกรรมการการกระจายอำนาจอย่างเป็นรูปธรรม “PM 2.5 ไม่ใช่เพียงปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่คือภัยคุกคามต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพ และความเป็นอยู่ของคนอีสาน” คือเสียงสะท้อนจากเวทีที่ตอกย้ำว่า ท้องถิ่นต้องไม่เป็นเพียงผู้รับผลกระทบ แต่ต้องกลายเป็นผู้ร่วมออกแบบทางออกด้วยข้อมูล […]

Local Administration College, KKU, raises PM 2.5 crisis from Isan breath to urgent national policy agenda Read More »

thaipbs-KKU academics reveal “reasons – solutions” for burning sugarcane fields

นักวิชาการ มข.เผย “สาเหตุ – ทางออก” เผาไร่อ้อย สำนักข่าว  :  thaipbs.or.th URL  :  https://www.thaipbs.or.th/news/content/348590 วันที่เผยแพร่  :  27  Jan 2025  ลิ้งก์ข่าวต้นฉบับ :  https://th.kku.ac.th/212960/

thaipbs-KKU academics reveal “reasons – solutions” for burning sugarcane fields Read More »

ผู้เชี่ยวชาญวิศวะ มข. ชวนเจาะลึกคำถาม ‘ทำไมต้องเผาอ้อย’ ช่วงฝุ่น PM 2.5 วิกฤต พร้อมแนะแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยวิจัยและนวัตกรรม

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เริ่มรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบางพื้นที่อยู่ในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จนทำให้รัฐบาลมีมาตรการต่าง ๆ ออกมาต่อเนื่อง ทั้งการขอความร่วมมือทำงานที่บ้าน (Work From Home) การงดเก็บค่าเดินทางเพื่อให้ลดใช้รถยนต์ส่วนตัว รวมไปถึงการขอความร่วมมืองดเผาในที่โล่ง ซึ่งปัญหาการเผานี้นับเป็นอีกปัจจัยที่หลายคนให้ความสนใจ โดยเฉพาะการเผาอ้อยของเกษตรกรที่แม้จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมาแต่ก็ยังพบเห็นอย่างต่อเนื่อง รศ.ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชวนมาหาคำตอบถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเผาอ้อยแม้สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 อยู่ในช่วงวิกฤต  รศ.ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเผาอ้อยว่า สาเหตุสำคัญมาจากค่าจ้างแรงงานตัดอ้อยสดกับอ้อยเผาต่างกันถึง 3 เท่า กลายเป็นต้นทุนให้เจ้าของไร่ต้องตัดสินใจเลือกการเผาเป็นทางออก และหากไม่เผาอ้อยคนงานบางส่วนก็ไม่ยอมตัดอ้อยเพราะมีทั้งหมามุ่ยและใบอ้อยรวมถึงขนอ้อยอาจทำให้บาดเจ็บและใช้เวลาตัดนานกว่าด้วย ขณะที่เจ้าของแปลงเล็ก ๆ ที่ไม่มีทั้งแรงงานและรถตัดอ้อยก็จำเป็นต้องขายเหมาแปลงให้รายใหญ่เข้ามาจัดการ ทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองและบางครั้งหากไม่ยินยอมก็จะถูกลักลอบจุดไฟเผา และเมื่ออ้อยถูกเผาแล้วต้องรีบตัดเพื่อไม่ให้เน่าก่อนส่งไปโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง  สำหรับไร่อ้อยที่ต้องการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนก็ต้องเผชิญกับปัจจัยหลายอย่าง ทั้งลักษณะของอ้อยซึ่งเป็นพืชที่โตเป็นกอ ทำให้ต้องตัดโคนและแยกใบออกจากลำ ก่อนจะสับและเป่าแยกใบหลายรอบ จึงจำเป็นต้องใช้รถตัดอ้อยใหญ่ที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านบาท ส่วนรุ่นกลาง ๆ หรือมือสองอยู่ที่ 5-6 ล้านบาท และมาพร้อมข้อจำกัดที่ทำให้การตัดอ้อยช้าลง ยังไม่รับรวมปัญหาทั้งการติดหล่มทราย หล่มโคลน หรือเมื่อตัดแล้วยังต้องทยอยนำอ้อยมาใส่รถบรรทุกที่จอดนอกแปลงจนกว่าจะมีพื้นที่ให้รถบรรทุกวิ่งเข้าไปขนาบรถตัดอ้อยได้ซึ่งทั้งหมดนี้อาจต้องเพิ่มทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรอีกนับไม่ถ้วน

ผู้เชี่ยวชาญวิศวะ มข. ชวนเจาะลึกคำถาม ‘ทำไมต้องเผาอ้อย’ ช่วงฝุ่น PM 2.5 วิกฤต พร้อมแนะแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยวิจัยและนวัตกรรม Read More »

Scroll to Top