U2T

COLA มข. ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น พลิกโฉมการบริการภาครัฐด้วย Generative AI ขับเคลื่อนท้องถิ่นสู่อนาคต

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทักษะการใช้ Generative AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ” ให้กับผู้บริหารและบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้ง 225 แห่ง ในจังหวัดขอนแก่น ณ ห้องประชุมพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ (COLA109) อาคารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 เวลา 13.00 – 16.30 น. ที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารและบุคลากรของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมงานกว่า 300 คน . ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น . ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม พร้อมระบุว่า มหาวิทยาลัยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายนี้และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นร่วมกับจังหวัดขอนแก่น ต่อไป . ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น . ด้าน ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม […]

COLA มข. ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น พลิกโฉมการบริการภาครัฐด้วย Generative AI ขับเคลื่อนท้องถิ่นสู่อนาคต Read More »

คณะวิทย์ฯ เปิดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค เปิดรับนักเรียนทั่วภาคอีสานอย่างยิ่งใหญ่ 18-20 สิงหาคม

วันที่ 18 สิงหาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  และมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีเปิด “งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2567” ภายใต้แนวคิด “วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สิ่งแวดล้อมและสังคม BCG” (BCG : Bio – Circular Green Economy)”  ณ ห้องวิทยวิภาส 1 อาคารวิทยวิภาส คณะวิทยาศาสตร์  ผศ. ดร.อังคณา  บุญยืด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวรายงานต่อประธาน โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร.กภ.คุรุศาสตร์ คนหาญ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธาน  มีผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้บริหารคณะหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ รวมถึงนักเรียนจากหลายสถาบัน ตลอดจนประชาชนทั่วไปเข้าชมงาน ผศ. ดร.อังคณา บุญยืด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวรายงานความตอนหนึ่งว่า “ในนามคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ระดับภูมิภาค ประจำปีพุทธศักราช  2567 

คณะวิทย์ฯ เปิดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค เปิดรับนักเรียนทั่วภาคอีสานอย่างยิ่งใหญ่ 18-20 สิงหาคม Read More »

“โลกแข็งแรง คนแข็งแรง” เชิญชวนทุกคนร่วมเชียร์ไปกับงานแข่งขันฟุตบอลแมทช์เกมการกุศลนัดพิเศษสุดมันส์

SINGHA ALL STAR UNITY MATCH 2024และคณะแพทยศาสตร์ ขอเชิญร่วมชมร่วมเชียร์ เชียร์ การแข่งขันฟุตบอลการกุศลนัดพิเศษ ระหว่าง SINGHA ALL STAR พบกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยคณะแพทยศาสตร์ วันศุกร์ ที่ 16 สิงหาคม 2567 ณ สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 09.00-15.00 น. ตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี 15.00 – 16.00 น. คลินิกฟุตบอลเยาวชน เริ่ม Kick Off เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ชมคอนเสิร์ต แอร์ The Mousses และ เบิ้ล ปทุมราช *** ร่วมบริจาค 100บาท รับบัตรฟรี!! แลกรับน้ำดื่มหรือสิงห์เลม่อนโซดา **หางตั๋วลุ้นรับเสื้อพร้อมลายเซ็นศิลปิน รายได้ทั้งหมดจะนำเข้าธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา มหาวิทยาลัยขอนแก่น บัญชีเลขที่ 551-456945-7 ชื่อบัญชี มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี (กองทุนเพื่อการป้องกันและกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี)

“โลกแข็งแรง คนแข็งแรง” เชิญชวนทุกคนร่วมเชียร์ไปกับงานแข่งขันฟุตบอลแมทช์เกมการกุศลนัดพิเศษสุดมันส์ Read More »

คณะเทคโนโลยี มข. ได้เข้าร่วมโครงการวิจัย “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำปลาร้า ด้วยเทคโนโลยีสร้างมูลค่ากากปลาร้า (ระยะที่ 2)” ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

____เมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2567 คณะเทคโนโลยี มข. นำโดย ผศ.ดร.อัมพร แซเอียว รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและนวัตกรรมเพื่อสังคม พร้อมด้วย ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำทีมเจ้าหน้าที่เข้าตรวจเยี่ยมโครงการวิจัย “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำปลาร้า ด้วยเทคโนโลยีสร้างมูลค่ากากปลาร้า (ระยะที่ 2)” ___โดยโครงการนี้ได้มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากกากปลาร้าซึ่งเป็นเศษเหลือในกระบวนการผลิตน้ำปลาร้าปรุงรสบรรจุขวด โดยปัจจุบันไทยมีปริมาณกากปลาร้าเหลือทิ้งอย่างน้อย 680 ตัน/ปี ซึ่งถูกกำจัดโดยการต้องฝังกลบ จึงอาจส่งผลให้กากปลาร้าที่มีความเค็มและมีกลิ่นรุนแรงนี้ รั่วไหลสู่ดินและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดปัญหาหาสิ่งแวดล้อมตามมาได้ ดังนั้นทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้มีการวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียในกระบวนการผลิต โดยสร้างเป็นไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการเพิ่มแคลเซียมจากผงกระดูกปลาที่ได้จากการนำกากปลาร้ามาปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคโนโลยีที่นักวิจัยคิดค้น พร้อมทั้งได้มีการต่อยอดไปสู่การจัดทำข้อกำหนดด้านมาตรฐาน เพื่อให้น้ำปลามีแคลเซียมเพิ่มขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าน้ำปลาร้าทั่วไปในท้องตลาด ทำให้ผู้ประกอบการสามารถกล่าวอ้างคุณสมบัติน้ำปลาร้าเสริมผงกระดูกปลาเป็นผลิตภัณฑ์ แคลเซียมสูงได้ รวมถึงมีการวิจัยเพิ่มเพื่อป้องกันไม่ให้ผงกระดูกปลาตกตะกอนที่ก้นขวด ซึ่งทำให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์ได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ .   ___ซึ่งดำเนินการวิจัยโดย ผศ.ดร. สมสมร แก้วบริสุทธิ์ อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการ ภายใต้การการสนับสนุนทุนจาก บพข. ร่วมกับ บริษัท เพชรดำฟู๊ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตน้ำปลาร้าปรุงรสบรรจุขวดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ___โครงการวิจัยย่อยที่ 2 นำโดย ผศ.ดร. อัมพร แซ่เอียว ในการนำการปลาร้ามาสร้างเป็นซอสน้ำปลาร้าอเนกประสงค์จากกากข้าวคั่วที่เป็นเศษเหลือจากกระบวนการผลิต

คณะเทคโนโลยี มข. ได้เข้าร่วมโครงการวิจัย “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำปลาร้า ด้วยเทคโนโลยีสร้างมูลค่ากากปลาร้า (ระยะที่ 2)” ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) Read More »

มข. จัดงาน “U2T Happy Village” นวัตกรรมภูมิปัญญา ล้ำค่าสู่สากล หนุนสินค้าชุมชนสู่ตลาดโลก

เมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2566  เวลา 13.00 น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงาน “U2T Happy Village” นวัตกรรมภูมิปัญญา ล้ำค่าสู่สากล ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และรองศาสตราจารย์เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับ  ทั้งนี้มีผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น  นักศึกษาและประชาชนทั่วไปร่วมเป็นเกียรติจำนวนมาก  ณ ศูนย์อาหารและบริการ 1 (Complex) มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการนี้มีวัตถุประสงค์โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG  หรือ (U2T for BCG) เพื่อขับเคลื่อนการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ด้วยการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปช่วยพัฒนากำลังคน เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG รวมถึงการยกระดับศักยภาพชุมชนให้เป็นพื้นที่เพื่ออรรถประโยชน์และนวัตกรรมที่มาจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคม เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพและกระจายรายได้ ไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน        ศาสตราจารย์ ธิดารัตน์ บุญมาศ กล่าวว่า สำหรับการจัดงาน “U2T Happy

มข. จัดงาน “U2T Happy Village” นวัตกรรมภูมิปัญญา ล้ำค่าสู่สากล หนุนสินค้าชุมชนสู่ตลาดโลก Read More »

มนุษย์-สังคม มข. ผนึกกำลังนิสิตนักศึกษา 6 สถาบัน สานสัมพันธ์เครือข่ายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อุทิศตนเพื่อสังคม

เมื่อวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดโครงการสานสัมพันธ์เครือข่ายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 สถาบัน (ค่าย 6 สถาบัน) ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2565 ณ โรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ พิธีเปิดได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์เพียรศักดิ์  ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี  สอทิพย์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี และนายสุริยะ  ใจวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้บริหารและนิสิตนักศึกษา จากทุกสถาบัน นอกจากนี้ยังมีการแสดงพิธีเปิด “ฟ้อนละครผู้ไท” จากนักเรียนโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม อีกทั้งยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย  เพียยุระ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มอบของที่ระลึกแก่ผู้บริหารสถาบันเครือข่าย ผู้นำชุมชน และแขกผู้มีเกียรติ และมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน ซึ่งสนับสนุนโดยสมาคมศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น        

มนุษย์-สังคม มข. ผนึกกำลังนิสิตนักศึกษา 6 สถาบัน สานสัมพันธ์เครือข่ายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อุทิศตนเพื่อสังคม Read More »

มข. ผนึกกำลัง 3 จังหวัด อีสานตอนบน หารือผลักดันการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG ตั้งเป้าออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ นำโดยศาสตราจารย์ธิดารัตน์  บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ จังหวัดขอนแก่น  จังหวัดหนองคาย และจังหวัดร้อยเอ็ด โดยในการนี้ได้เข้าพบนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด และ นายชาญชัย คงทัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เพื่อหารือแลกเปลี่ยนรู้แนวทางผลักดันการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T For BCG) พร้อมรับแนวทางนโยบายในการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าว ทั้งนี้  ศาสตราจารย์ธิดารัตน์  บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ได้นำเสนอแผนพัฒนาในการจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้แบรนด์ Inno mor โดยตั้งเป้าออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ในปี 2566 นี้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิตและบริการ ด้วยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งการลงทุนที่สามารถเพิ่มโอกาสการเข้าถึงตลาดของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะระดับชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก อีกทั้งยังเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชนหรือครัวเรือนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคในระบบเศรษฐกิจ และสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง

มข. ผนึกกำลัง 3 จังหวัด อีสานตอนบน หารือผลักดันการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG ตั้งเป้าออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ นำเสนอผลงานเด่นโครงการ U2T ต่อยอดสู่ตลาดระดับประเทศร่วมกับ อว. และฝ่ายนวัตกรรมฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อเร็วๆนี้  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดย ผศ.ดร. เยาวพา ตรีกมล  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ และนางสาวกนกอร ตั้งจิตเจริญกิจ ผู้ประสานงานโครงการ U2T for BCG เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นผลิตผลจากโครงการ U2T for BCG ให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยผสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย คลินิกเทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ฯลฯ และรับฟังประเด็นความต้องการของผู้ประกอบการ สำหรับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้รับการประสานงานจากนางสาววราภรณ์ ผิวพรรณงาม รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเข้าร่วมโครงการ  มีตำบลตัวแทนโครงการจากจังหวัดกาฬสินธุ์เข้าร่วม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพนทอง และตำบลห้วยโพธิ์ ซึ่งโดดเด่นด้านการพัฒนาสินค้าหัตถกรรมเสื่อกกและผ้าฝ้ายให้มีความหลากหลาย โดยใช้เทคโนโลยีการออกแบบเข้ามาประยุกต์ รวมถึงมีการแปรรูปหญ้าเลี้ยงสัตว์เนเปียร์ให้อยู่ในรูปแบบหญ้าหมัก มีกระบวนการวัดความชื้นที่เหมาะสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้สามารถบรรจุและเก็บรักษาได้นาน สามารถส่งขายได้ทั่วประเทศ  ซึ่งนวัตกรรมของทั้งสองตำบลสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าท้องถิ่น ทำให้บัณฑิตจบใหม่มีรายได้ และมีการสั่งซื้อจากที่ต่างๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์ นำเสนอผลงานเด่นโครงการ U2T ต่อยอดสู่ตลาดระดับประเทศร่วมกับ อว. และฝ่ายนวัตกรรมฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Read More »

“อว.ต่อยอดผลิตภัณฑ์โครงการ U2T for BCG เสริมการตลาด เพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการชุมชน”

วันที่ 23 มกราคม 2566 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG โดยมี ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานและกล่าวเปิดกิจกรรมฯ และนายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สป.อว. กล่าวชี้แจงแนวทางการดำเนินงานของสป.อว. จากนั้น เป็นกิจกรรมรับฟังประเด็นความต้องการของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย นางสาวพรชวรัตน์ ฐานมั่น ผู้จัดการแผนกประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม เข้าร่วม นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมการเสวนา และการจัดนิทรรศการออกบูทของผู้ประกอบการ ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดหนองคาย โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นผลิตผลจากโครงการ U2T for BCG ให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยผสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย คลินิกเทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ฯลฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการให้คำปรึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งด้านเทคโนโลยี การตลาด เป็นต้น ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อให้เกิดการพึ่งตนเอง และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ต่อไป

“อว.ต่อยอดผลิตภัณฑ์โครงการ U2T for BCG เสริมการตลาด เพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการชุมชน” Read More »

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย” เรียนรู้ขั้นตอนการทำการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและกล้วยฉาบใน ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2565 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมเชิงบรรยาย เกี่ยวกับ “การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย” เพื่อให้คนในชุมชนสามารถวางแผนการผลิตและสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและกล้วยฉาบ ภายใต้การดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG (U2T for BCG) ในพื้นที่ ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น ซึ่งทางโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในการนำสินค้าและบริการในชุมชนมาพัฒนาและต่อยอดโดยการใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพื่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดงานอบรมครั้งนี้ มีเนื้อหาบรรยายเกี่ยวกับ  (1) การวางแผนการผลิตภายในชุมชน (2) การตลาดสมัยใหม่ (3) การตั้งคำถามต่อสินค้าและบริการของตัวเองและคู่แข่ง เช่น ลูกค้าคือใคร ทำไมลูกค้าถึงซื้อของเรา เป็นต้น  (4) ตั้งกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน (5) การตั้งราคาขายที่ถูกต้อง (6) หลักการทำการตลาดออนไลน์ และมีการทำกิจกรรมกลุ่มโดยให้คนในกลุ่มผ้าไหมทอมือและกล้วยฉาบช่วยกัน (1) วางแผนการตลาดตามหลักการ 4P (Marketing mix) หรือหลักการในการทำการตลาดโดยคำนึงถึง ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาดที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ  (2) การตั้งกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนกับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถทำการตลาดให้สอดคล้องกันได้ โดยมี รศ.ดร. ภาณุพล หงษ์ภักดี และ ผศ.ดร. ศุภัชญา

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย” เรียนรู้ขั้นตอนการทำการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและกล้วยฉาบใน ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น Read More »

เลื่อนไปด้านบน