ศศิธร สูงนารถ

สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น เข้าร่วมการประชุมวิชาการ พืชสวนแห่งชาติครั้งที่19 พร้อมยกทัพกวาดรางวัลใหญ่

เมื่อวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา สาขาวิชาพืชสวน นำโดย รศ.ดร.สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ร่วมด้วย รศ.ดร.ภาณุพล หงส์ภักดี อ.ดร.ศุภณัฏฐ์ กาญจนวัฒนาวงศ์ อ.ดร.ธัญญารัตน์ ตาอินต๊ะ และ อ.ดร.ประกาศิต ดวงพาเพ็ง พร้อมด้วยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักศึกษา ป.ตรี ชั้นปีที่3 กว่า 60 คน เข้าร่วมงานการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่19 ซึ่งจัดโดย คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ ณ โรงแรมทวินโลตัส จ. นครศรีธรรมราช ภายใต้ชื่องาน ‘พืชสวนสมัยใหม่: เทคโนโลยีและนวัตกรรม’ การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ นับเป็นการประชุมที่ได้รับการยอมรับในแวดวงพืชสวนทั่วประเทศ ดำเนินการจัดขึ้นครั้งแรกโดยสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากงานวิจัย ตลอดจนเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านพืชสวน ซึ่งเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีหลังการเก็บเก็บ ตลอดจนนวัตกรรมด้านการเกษตรต่าง ๆ และเวียนกันเป็นเจ้าภาพในภาคีของสถาบันการศึกษา ที่มีการเรียนการสอนด้านพืชสวน ตลอดจนหน่วยงานราชการ เช่น กรมวิชาการเกษตร มากว่าทศวรรษ ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมทางวิชาการ […]

สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น เข้าร่วมการประชุมวิชาการ พืชสวนแห่งชาติครั้งที่19 พร้อมยกทัพกวาดรางวัลใหญ่ Read More »

คณะเกษตรศาสตร์ มข. “แจกต้นกล้ากระท่อม” จากโครงการศึกษาการขยายพันธุ์และส่งเสริมพืชกระท่อมพันธุ์ดีสู่พืชเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 65 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แจกต้นกล้ากระท่อมจากโครงการศึกษาการขยายพันธุ์และส่งเสริมพืชกระท่อมพันธุ์ดีสู่พืชเศรษฐกิจ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส) ภายใต้การผลิตจากห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสวน สาขาวิชาพืชสวน จำนวน 10,000 ต้น โดยแบ่งการแจกเป็น 3 รอบ 1. แจกจ่ายให้แก่ผู้สนใจที่ลงทะเบียนล่วงหน้า แจก ณ หมวดไม้ดอกไม้ประดับ สาขาวิชาพืชสวน 3,000 ต้น 2. ชุมชนโดยรอบสถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรมร้อยเอ็ด ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 3,000 ต้น 3. งานเกษตรภาคอีสาน อีก 4,000 ต้น (ติดตามข่าวเพิ่มเติมได้จากเพจ สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น #kkuhorttissuculturelab 

คณะเกษตรศาสตร์ มข. “แจกต้นกล้ากระท่อม” จากโครงการศึกษาการขยายพันธุ์และส่งเสริมพืชกระท่อมพันธุ์ดีสู่พืชเศรษฐกิจ Read More »

เปิดรับสมัครร้านค้าเข้าร่วมวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2565

เปิดรับสมัครร้านค้าเข้าร่วมวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2565 รูปแบบที่ 1 : สมัครเข้ารับการพิจารณาใช้พื้นที่ – เปิดรับสมัคร : 1 -15 พฤศจิกายน 2565 – ประกาศผลผู้ได้รับการพิจารณา : 25 พฤศจิกายน 2565 – ชำระค่าใช้พื้นที่ : 25 พฤศจิกายน – 6 ธันวาคม 2565 – ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าใช้พื้นที่ : 9 ธันวาคม 2565 รูปแบบที่ 2 : ประมูลเข้าใช้พื้นที่ (ล็อคพิเศษ) – เปิดรับสมัคร : 1 -12 พฤศจิกายน 2565 – ประกาศผลผู้ได้รับการพิจารณา : 14 พฤศจิกายน 2565 – ชำระค่าใช้พื้นที่ : 14-21 พฤศจิกายน 2565 – ประกาศผู้ได้รับการคัดเลือก

เปิดรับสมัครร้านค้าเข้าร่วมวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2565 Read More »

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย” เรียนรู้ขั้นตอนการทำการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและกล้วยฉาบใน ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2565 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมเชิงบรรยาย เกี่ยวกับ “การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย” เพื่อให้คนในชุมชนสามารถวางแผนการผลิตและสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและกล้วยฉาบ ภายใต้การดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG (U2T for BCG) ในพื้นที่ ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น ซึ่งทางโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในการนำสินค้าและบริการในชุมชนมาพัฒนาและต่อยอดโดยการใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพื่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดงานอบรมครั้งนี้ มีเนื้อหาบรรยายเกี่ยวกับ  (1) การวางแผนการผลิตภายในชุมชน (2) การตลาดสมัยใหม่ (3) การตั้งคำถามต่อสินค้าและบริการของตัวเองและคู่แข่ง เช่น ลูกค้าคือใคร ทำไมลูกค้าถึงซื้อของเรา เป็นต้น  (4) ตั้งกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน (5) การตั้งราคาขายที่ถูกต้อง (6) หลักการทำการตลาดออนไลน์ และมีการทำกิจกรรมกลุ่มโดยให้คนในกลุ่มผ้าไหมทอมือและกล้วยฉาบช่วยกัน (1) วางแผนการตลาดตามหลักการ 4P (Marketing mix) หรือหลักการในการทำการตลาดโดยคำนึงถึง ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาดที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ  (2) การตั้งกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนกับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถทำการตลาดให้สอดคล้องกันได้ โดยมี รศ.ดร. ภาณุพล หงษ์ภักดี และ ผศ.ดร. ศุภัชญา

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย” เรียนรู้ขั้นตอนการทำการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและกล้วยฉาบใน ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น Read More »

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรม “การปลูกมะม่วงนอกฤดูกาล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวในผักและผลไม้”

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการจัดอบรมเรื่อง “การปลูกมะม่วงนอกฤดูกาล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวในผักและผลไม้” ภายใต้การดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG (U2T for BCG) ณ ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น  มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 47 คน โดยมี ผศ.หยาดรุ้ง มะวงศ์ไว หัวหน้าสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์ประสานงาน ดูแล และติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ ตำบลวังหิน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น การจัดอบรมดังกล่าวต่อเนื่องมาจาก ในฤดูเก็บเกี่ยวมะม่วงมักมีผลผลิตมะม่วงออกสู่ตลาดมากทำให้ราคามะม่วงตกต่ำ อีกทั้งยังเป็นเน่าเสียง่าย ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เกษตรกรในชุมชนจึงต้องการองค์ความรู้ด้านการปลูกมะม่วงนอกฤดูกาลและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตมะม่วงนอกฤดูกาล วิทยากรผู้ให้องค์ความรู้ในการอบรมครั้งนี้ ได้แก่ผศ.ดร.ศุภัชญา นามพิลา อาจารย์ สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวในพืชผักและผลไม้ ทั้งนี้ทางโครงการฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดอบรมการปลูกมะม่วงนอกฤดูกาล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวในผักและผลไม้ในครั้งนี้ จะสามารถส่งเสริมองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลวังหิน โดยสามารถนำความรู้ไปต่อยอดพัฒนาเพื่อเกิดรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นและเพิ่มเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนได้ ข่าว : นางสาวกาญจนา แงงคำ

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรม “การปลูกมะม่วงนอกฤดูกาล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวในผักและผลไม้” Read More »

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “ผ้าไหมและสิ่งทอ” เรียนรู้ขั้นตอนการผลิตจนถึงช่องทางการขายผ้าไหม ณ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้าน หนองบัวน้อย ต.โสกนกเต็น อ.พล จ.ขอนแก่น

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เกี่ยวกับ “ผ้าไหมและสิ่งทอ”เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปจนถึงการทำการตลาดและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากเส้นไหมให้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นภายใต้การดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG (U2T for BCG) ณ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้าย ที่บ้านหนองบัวน้อย ต.โสกนกเต็น อ.พล จ.ขอนแก่น ซึ่งทางโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในการนำสินค้าและบริการในชุมชนมาพัฒนาและต่อยอดโดยการใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพื่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดงานอบรมครั้งนี้ เป็นการอบรมเกี่ยวกับ (1) การปลูกหม่อนในสภาพแวดล้อมแห้งแล้ง (2) การเลี้ยงไหมเพื่อให้ได้เส้นไหมที่มีคุณภาพ (3) การสร้างเรื่องราวให้ลายผ้าไหมแต่โบราณตาม 12 ประเพณีของไทยหรือเรียกว่า “ผ้าไหม 12 ฮีต” เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับผ้าไหม และสืบทอดการทอลายผ้าตามงานบุญประจำเดือน เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นเรื่องหนึ่งของชาวอีสาน (4) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากเส้นไหมหลากหลายรูปแบบ ทั้งลายผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองพล ผ้าคลุมไหล่ ต่างหู หรือสร้อยคอที่ออกแบบโดยมีเส้นไหมเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์จากบ้านหนองบัว อ.พล จ.ขอนแก่น หมู่บ้านที่ยังคงกลิ่นอายวิถีชีวิตอีสานมาอย่างยาวนาน โดยมี รศ.ดร. ภาณุพล หงษ์ภักดี และ ผศ.ดร. ศุภัชญา นามพิลา อาจารย์จากสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้รับผิดชอบดูแลโครงการในครั้งนี้ และได้รับเกียรติจากคุณเกษร นามวงศ์

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “ผ้าไหมและสิ่งทอ” เรียนรู้ขั้นตอนการผลิตจนถึงช่องทางการขายผ้าไหม ณ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้าน หนองบัวน้อย ต.โสกนกเต็น อ.พล จ.ขอนแก่น Read More »

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “การแปรรูปกล้วย” จากผลกล้วยสดสู่ผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ชุมชน ตามหลัก BCG model ในพื้นที่ ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เกี่ยวกับ “การแปรรูปกล้วย” ภายใต้การดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG (U2T for BCG) ณ วัดโนนศิลาอาสน์ ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งทางโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในการนำสินค้าและบริการในชุมชนมาพัฒนาและต่อยอดโดยการใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพื่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดงานอบรมครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องจากกล้วยเป็นผลผลิตที่มีมากในชุมชน แต่เนื่องจากระยะเวลาการเก็บรักษาที่สั้นและได้รับความเสียหายได้ง่าย ทำให้มีการทิ้งผลกล้วยสดในปริมาณมากรวมทั้งขายได้ในราคาที่น้อย ทำให้คนในชุมชนมีความต้องการแปรรูปผลกล้วยดิบให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นและขายได้ในราคาที่เพิ่มขึ้น จึงได้มีการจัดอบรมเชิงปฎิบัติ ให้คนในชุมชมได้ลงมือแปรรูปตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้ที่มีอาชีพปลูกและขายกล้วยอยู่แล้วภายในชุมชน ได้มาเรียนรู้เป็นการลงมือปฎิบัติจริงเกี่ยวกับวิธีการแปรรูปกล้วยให้เป็นผลิตภันฑ์กล้วยฉาบ เพื่อให้สามารถเพิ่มและยกระดับคุณภาพรวมถึงเพิ่มมูลค่าให้กับผลกล้วยที่มีมากในชุมชน โดยการอบรมในครั้งนี้เป็นการลงมือปฎิบัติตั้งแต่ขั้นตอนการปลอกเปลือก แช่น้ำเกลือ การทอดแผ่นกล้วย ไปจนถึงการปรุงรสชาติต่างๆ ทั้งรสเค็ม รสหวาน รสชีส รสปาปิก้า ที่เป็นที่ชื่นชอบทั้งเด็กและผู้ใหญ่  รวมถึงสอดแทรกเคล็ดลับต่าง ๆ ในการแปรรูปกล้วยฉาบให้มีความกรอบ อร่อย และคงอยู่ได้นานขึ้นด้วย และมีการนำกล้วยฉาบมาใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์หรือโลโก้ของชุมชนป่ามะนาว เพื่อให้เกิดการจดจำผลิตภัณฑ์ในวงกว้างอีกด้วย โดยมี รศ.ดร. ภาณุพล หงษ์ภักดี และ ผศ.ดร ศุภัชญา นามพิลา อาจารย์จากสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้รับผิดชอบดูแลโครงการในพื้นที่ตำบลป่ามะนาว และได้รับเกียรติ  จากคุณอังคณา เชยชัยภูมิ

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “การแปรรูปกล้วย” จากผลกล้วยสดสู่ผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ชุมชน ตามหลัก BCG model ในพื้นที่ ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น Read More »

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “การฟอกกาวและย้อมสีเส้นไหม” จากวัตถุดิบธรรมชาติในชุมชน ตามหลัก BCG model ในพื้นที่ ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น

เมื่อวันที่ 29-30 สิงหาคม 2565 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เกี่ยวกับ “การฟอกกาวและย้อมสีเส้นไหม” โดยการย้อมสีจากวัตถุดิบตามธรรมชาติภายในชุมชน ภายใต้การดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG (U2T for BCG) ณ วัดโนนศิลาอาสน์ ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งทางโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในการนำสินค้าและบริการในชุมชนมาพัฒนาและต่อยอดโดยการใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพื่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดงานอบรมครั้งนี้ เป็นการลงมือปฎิบัติจริงในการสกัดและย้อมสีเส้นไหมจากวัตถุดิบที่หาได้ตามธรรมชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้เลี้ยงไหมและทอผ้าไหมภายในชุมชมป่ามะนาวอยู่แล้ว ที่สนใจพัฒนาการย้อมสีเส้นไหมจากวัตถุดิบในธรรมชาติ เพื่อช่วยเพิ่มและยกระดับคุณภาพรวมถึงเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าไหมพื้นบ้านที่ผลิตในชุมชนป่ามะนาว จากเดิมที่ทอผ้าด้วยมือ ใช้สีเคมี และมีการซื้อขายแค่ในชุมชนเท่านั้น ให้ได้มีการยกระดับการทอผ้าไหมพื้นบ้าน ให้มีเอกลักษณ์และสร้างมูลค่าจากการย้อมธรรมชาติ ทำให้สามารถขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าชั้นสูงซึ่งให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การอบรมในครั้งนี้แบ่งเป็นสองวัน  วันที่ 1 เป็นการลงมือต้มฟอกกาวจากเส้นไหมด้วยน้ำด่างและต้มสกัดสีจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ คือ ดอกดาวเรือง, เหง้ากล้วย, ใบสาบเสือ และเปลือกประดู่   วันที่ 2 เป็นการนำเส้นไหมที่ฟอกกาวแล้วมาจุ่มย้อมสีที่ได้สกัดเตรียมไว้ หลังจากนั้นใช้สารติดสี (mordant) คือ สนิมเหล็ก , สารส้ม , ปูนขาว และ โคลน เพื่อให้สีติดแน่นกับเส้นไหมที่ย้อมและช่วยเปลี่ยนเฉดสีให้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น และในช่วงท้ายมีการสอบถามและให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่ชุมชนเจอเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตและเลี้ยงหนอนไหม เพื่อให้สามารถแนะนำแนวทางและการแก้ปัญหาการเลี้ยงหนอนไหมได้เหมาะสมกับชุมชน และมีการแนะนำเทคนิคการทอผ้าไหมที่ได้รับความนิยม การส่งเสริมเลี้ยงหนอนไหมเผื่อผลิตผ้าไหมที่ได้มาตรฐานเพิ่มเติมอีกด้วย

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “การฟอกกาวและย้อมสีเส้นไหม” จากวัตถุดิบธรรมชาติในชุมชน ตามหลัก BCG model ในพื้นที่ ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น Read More »

เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) “การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น “

เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) “การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น “ เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 20 กันยายน 2565 ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท/ต่อคน เปิดรับ 30 คน ( จัดฝึกอบรม 24 – 25 สิงหาคม 2565 ) สนใจเข้าร่วมโครงการสมัครได้ที่ : https://kku.world/horticulture ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : อ.ดร.ศุภณัฏฐ์ กาญจนวัฒนาวงศ์ FB : Supanath Kanjanawattanawong E-mail : supanath@kku.ac.th

เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) “การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น “ Read More »

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรม “การพัฒนาผ้าขาวม้ากลิ่นหอมบ้านโนนชัย” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเเละสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรม “การพัฒนาผ้าขาวม้ากลิ่นหอมบ้านโนนชัย” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเเละสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ณ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าด้วยกี่กระตุก บ้านโนนชัย ตำบลโนนหัน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งทางโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในการนำสินค้าและบริการในชุมชนมาพัฒนาและต่อยอดโดยการใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนอย่างยั่งยืน ที่มาของการจัดอบรมครั้งนี้ สืบเนื่องจากตำบลโนนหัน หมู่บ้านโนนชัยมีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าด้วยกี่กระตุกอยู่แล้ว มีการทอผ้าด้วยกี่กระตุกซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีเพียงผ้าขาวม้าที่จำหน่ายเป็นผืน ไม่มีการนำผ้าผืนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ จึงได้มีการจัดเวทีหารือระหว่างสมาชิกกลุ่มและทีมงาน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาร่วมกัน ซึ่ง เมื่อพิจารณาถึงยอดขายที่ผ่านมา ตลาดยังต้องการผ้าขาวม้าผืนจากกลุ่มอยู่ จึงมุ่งไปที่การสร้างความแปลกใหม่ให้กับผ้าผืน สร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากตลาดทั่วไป ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปในการสร้างสรรค์ผ้าขาวม้าผืนที่มีกลิ่นหอม ซึ่งจะสามารถต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นได้ด้วย ถือเป็นการที่จะยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า ส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการผลิตผ้าขาวม้าให้มีกลิ่นหอม และยกระดับกระบวนการผลิตผ้าขาวม้าแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์  ซึ่งจะเป็นการสร้างจุดเด่นให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าด้วยกี่กระตุก และนำไปสู่โอกาสทางการตลาดที่กว้างขึ้น โดยมี ผศ.ฝากจิต ปาลินทร อาจารย์จากสาขาวิชาการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้รับผิดชอบดูแลโครงการในพื้นที่ตำบลโนนหัน อำเภอชุมแพ จังหวัด และได้รับเกียรติจาก อาจารย์ธนิกา หุตะกมล สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

U2T for BCG คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรม “การพัฒนาผ้าขาวม้ากลิ่นหอมบ้านโนนชัย” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเเละสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG Read More »

เลื่อนไปด้านบน