ผานิต ฆาตนาค

คณะเศรษฐศาสตร์ มข.เปิดรับสมัครหลักสูตร 3+1 ปริญญาตรีควบโท จบได้ภายใน 4 ปี ประจำปีการศึกษา 2568

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกาศเปิดรับสมัครนักศึกษาเข้าศึกษาใน หลักสูตร 3+1 ปริญญาตรีควบโท สาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการประยุกต์ ประจำปีการศึกษา 2568 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ออกแบบให้ศึกษา­­ควบคู่ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทภายในระยะเวลา 4 ปี เพื่อยกระดับความรู้เชิงวิชาการและทักษะการประยุกต์ใช้งานในโลกยุคใหม่ สำหรับหลักสูตรนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมผ่านการเรียนรู้เชิงลึกใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การประยุกต์เทคโนโลยี (Digitalization) เพื่อปรับโมเดลธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การวิจัยเชิงทดลองภาคสนามเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมที่ส่งผลต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socio‑economic Issues) โดยทุกหลักสูตรถูกบูรณาการร่วมกันอย่างสอดคล้องและสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างโอกาสทางการจัดการเรียนสอนให้แก่ผู้เรียนในระดับปริญญาตรีได้มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ในระดับสูง ต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ในระดับสูงสู่การเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้ครบถ้วนและมีความหลากหลายในด้านการนำไปประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์ด้านสาขาอื่น ๆ ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม, เศรษฐศาสตร์การเงิน, เศรษฐศาสตร์ทุนมนุษย์, เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ และ เศรษฐศาสตร์ทรัพยากร เป็นต้น และเพื่อเสริมสร้างการสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ผู้เรียนในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ นักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิทั้งปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต และเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต พร้อมความรู้รอบด้านที่สามารถประยุกต์สู่สาขาเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ และตอบโจทย์การทำงานทั้งในและต่างประเทศ ผู้สนใจสามารถสมัครและขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานบัณฑิตศึกษา ชั้น 3 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร. 082‑1222793 หรืออีเมล econ@kku.ac.th ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

คณะเศรษฐศาสตร์ มข.เปิดรับสมัครหลักสูตร 3+1 ปริญญาตรีควบโท จบได้ภายใน 4 ปี ประจำปีการศึกษา 2568 Read More »

ยิ่งใหญ่! สงกรานต์ มข.2568 สืบสานวัฒนธรรมอีสานจัด “บุญเดือนห้า แห่พุทธบูชา สมมาอาวุโส”

วันพุธที่ 9 เมษายน 2568 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรม “บุญเดือนห้า แห่พุทธบูชา สมมาอาวุโส” ประจำปี 2568 อย่างยิ่งใหญ่ ณ คุ้มศิลปวัฒนธรรม ริมบึงสีฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานประเพณีฮีตสิบสอง สะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรม ซึ่งการจัดงานในปีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากยูเนสโกประกาศรับรอง “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติในปี 2566 สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษาประเพณีไทย โดยเฉพาะงานบุญเดือนห้า ซึ่งถือเป็นประเพณีสำคัญของภาคอีสานที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นยึดถือและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมในวันนี้เริ่มต้นอย่างคึกคักตั้งแต่ช่วงเย็น จากการประกวดตบประทาย (ก่อเจดีย์ทราย) พิธีสะเดาะเคราะห์ 12 นักษัตร พิธีสรงน้ำพระ และพระธาตุพนมจำลอง รวมถึงพิธีจุดธูปเทียนและกล่าวคำบูชาหลวงพ่อพระศรี 50 ปี มข. โดยมีผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยร่วมประกอบพิธีอย่างพร้อมเพรียงทั้ง ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัย, รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น, นายศิริวัฒน์ พินิจพานิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ท่ามกลางผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเครือข่ายชุมชนรอบรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงประชาชนทั่วไปรวมกว่า 1,000 คน ที่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในวันนี้อย่างอบอุ่น รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระบุว่า

ยิ่งใหญ่! สงกรานต์ มข.2568 สืบสานวัฒนธรรมอีสานจัด “บุญเดือนห้า แห่พุทธบูชา สมมาอาวุโส” Read More »

คณะเศรษฐศาสตร์ มข.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เสริมศักยภาพการประเมินสมรรถนะรายบุคคลเพื่อขับเคลื่อนองค์กรแห่งอนาคต

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “ระบบประเมินตัวชี้วัดรายบุคคลและการบริหารสมรรถนะรายบุคคลเพื่อขับเคลื่อนองค์กรแห่งอนาคต” ณ ห้อง E602 อาคารเรียนรวมและพัฒนาทักษะพื้นฐาน โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรจากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วมกว่า 30 คน การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.จงรักษ์ หงษ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร วางแผน และประกันคุณภาพ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในหลักการและแนวคิดพื้นฐานของระบบการประเมินสมรรถนะรายบุคคล ตั้งแต่การทำความเข้าใจพจนานุกรมสมรรถนะ การประเมินโดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การทำความเข้าใจบุคลิกลักษณะของผู้รับการประเมิน ไปจนถึงการฝึกปฏิบัติการคำนวณค่าคะแนนจากผลการประเมิน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนาระบบประเมินผลที่ไม่สร้างแรงต่อต้าน การเชื่อมโยงเป้าหมายขององค์กรสู่เป้าหมายของแต่ละบุคคล รวมถึงวิธีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและการให้ Feedback อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และขับเคลื่อนองค์กรให้มีศักยภาพสอดรับกับอนาคตได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ของคณะเศรษฐศาสตร์ ภายใต้ชุดวิชา “เศรษฐศาสตร์การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management Economics)” ซึ่งเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของคณะในการสนับสนุนการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในโลกการทำงานยุคใหม่

คณะเศรษฐศาสตร์ มข.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เสริมศักยภาพการประเมินสมรรถนะรายบุคคลเพื่อขับเคลื่อนองค์กรแห่งอนาคต Read More »

มข.เปิดศูนย์สอบเทียบเครื่องมือแพทย์มาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จับมือเครือข่ายยกระดับระบบสนับสนุนการแพทย์

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2568 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีเปิดศูนย์ห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ ภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 และการลงนามความร่วมมือทางวิชาการและงานระบบสนับสนุนทางการแพทย์ โดยมี นายศิริวัฒน์ พินิจพานิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธี และ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวแสดงความยินดีและมอบของที่ระลึกให้เครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ณ ห้องประชุมรับขวัญ ชั้น 3 โรงแรมบายาสิตา มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส  ประธานมูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงานความเป็นมาว่า ศูนย์ห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ ภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 และการลงนามความร่วมมือทางวิชาการและงานระบบสนับสนุนทางการแพทย์ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาและสร้างความเป็นเลิศของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และการขับเคลื่อนการดำเนินงานโดย บริษัท เมดิคอลฟาซิลิตี้แมเนจเม้นท์ ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการให้มีมาตรฐานระดับสากล โดยมีแนวทางสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถดำเนินการทดสอบและสอบเทียบได้อย่าง แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถดำเนินงานตามมาตรฐานสากลได้อย่างถูกต้อง “ศูนย์ห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบจะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ให้มีความแม่นยำตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบสนับสนุนทางการแพทย์ในระยะยาว” ขณะที่ รศ.นพ.ชาญชัย

มข.เปิดศูนย์สอบเทียบเครื่องมือแพทย์มาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จับมือเครือข่ายยกระดับระบบสนับสนุนการแพทย์ Read More »

มข.ร่วมขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลลุ่มน้ำโขง นำเสนอผลงานนวัตกรรมใน Lao Digital Week 2025

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 ท่านสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและดิจิทัล พร้อมคณบดีและผู้แทนจากคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมงาน “Lao Digital Week 2025” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2–6 เมษายน 2568 ณ หอประชุมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแสดงบทบาทและศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในระดับภูมิภาค ภายใต้กรอบความร่วมมือกับกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร สปป.ลาว ซึ่งเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ งานสัปดาห์ดิจิทัลลาวในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้คำขวัญ “พัฒนาพื้นฐานโครงสร้างดิจิทัลของ สปป.ลาว ให้เข้มแข็งและยั่งยืน” โดยมี 3 เสาหลัก ได้แก่ รัฐบาลดิจิทัล สังคมดิจิทัล และเศรษฐกิจดิจิทัล ภายในงานมีผู้นำระดับสูง นักวิชาการ สถาบันการศึกษา บริษัทเอกชน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากนานาประเทศเข้าร่วม โดยได้รับเกียรติจากท่านทองลุน สีสุลิด เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว และประธานประเทศแห่ง สปป.ลาว เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมีรัฐมนตรีจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทย เวียดนาม จีน กัมพูชา และรัสเซีย เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีด้วย ในโอกาสนี้ บัณฑิต

มข.ร่วมขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลลุ่มน้ำโขง นำเสนอผลงานนวัตกรรมใน Lao Digital Week 2025 Read More »

แผ่นดินไหวสะเทือนขอนแก่นในรอบ 21 ปี นักวิชาการ มข.มองอนาคตความเสี่ยงผ่านมุมธรณีวิทยา พร้อมแนะ 4 วิธีสังเกตแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูดในประเทศเมียนมา แรงสั่นสะเทือนบางส่วนรับรู้ได้ถึงประเทศไทย รวมถึงในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะภายในอาคารสูงของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา สร้างความตระหนักเกี่ยวกับ “แผ่นดินไหว” ว่าเป็นภัยพิบัติที่ไม่ได้อยู่ไกลตัวอีกต่อไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และในอนาคตยังจะมีความเสี่ยงอีกไหม ชวนมองผ่านมุมนักวิชาการด้านธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น  “Supershear Earthquake” ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงส่งผลไกลถึงไทย ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ มีสาเหตุหลักน่าจะมาจาก Supershear Earthquake (การแยกของแผ่นดินที่เร็วกว่าปกติ) ซึ่งเป็นผลมาจากรอยเลื่อนสะกายที่เคลื่อนที่แบบ Right-lateral Strike-Slip Fault ที่ประเทศเมียนมา ทำให้คลื่นไหวสะเทือน (Seismic wave) เคลื่อนผ่านชั้นดินมายังประเทศไทย ส่งผลให้ภาคเหนืออย่างเชียงใหม่และพื้นที่กรุงเทพฯ รับรู้แรงสั่นไหวได้ชัดเจน สำหรับจังหวัดขอนแก่น แม้จะอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง แต่ด้วยลักษณะของชั้นดินใต้ผิวโลกที่เป็นชั้นหินที่ไม่แข็งแรงมากนัก เช่น หมวดหินภูทอกและหมวดหินมหาสารคาม ซึ่งประกอบด้วยหินตะกอนเนื้อละเอียดและเกลือที่สามารถผุพังให้ดินเหนียว ทำให้คลื่นไหวสะเทือนขยายตัวและส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่ออาคารสูง โดยเฉพาะอาคารภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่รู้สึกถึงแรงสั่นอย่างเด่นชัด ระดับความรุนแรงอยู่ที่ระดับ 3 จาก 12 ระดับ ของ Modified Mercalli Intensity (MMI) Scale ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์

แผ่นดินไหวสะเทือนขอนแก่นในรอบ 21 ปี นักวิชาการ มข.มองอนาคตความเสี่ยงผ่านมุมธรณีวิทยา พร้อมแนะ 4 วิธีสังเกตแผ่นดินไหว Read More »

มั่นใจได้! มข.ยืนยันแผ่นดินไหวไม่กระทบโครงสร้างอาคาร บุคลากร-นักศึกษาใช้งานได้ตามปกติ

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ส่งผลให้หลายพื้นที่ในประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนรวมถึงจังหวัดขอนแก่น ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่อย่างเร่งด่วนเพื่อประเมินความเสียหายและความปลอดภัยของอาคารและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย ล่าสุด รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่โดยเร่งด่วนตามแผน Business Continuous Management (BCM) ที่กำหนดเพิ่มเติมใหม่ โดยมีการลงพื้นที่สำรวจในช่วงวันที่ 29-30 มีนาคม 2568 ร่วมกับคณบดีและผู้บริหารแต่ละคณะในการสำรวจโครงสร้างอาคารเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของบุคลากรและนักศึกษาทุกฝ่ายเช่นเดียวกัน ผลจากการสำรวจในหลายพื้นที่ ทั้งอาคารเรียน อาคารสำนักงาน และส่วนงานต่าง ๆ พบว่าความเสียหายส่วนใหญ่ไม่ได้กระทบต่อโครงสร้างหลักของอาคาร โดยมีเพียงความเสียหายเล็กน้อย เช่น ปูนฉาบกระเทาะ กระเบื้องร่อน กระจกแตก ผิวปูนฉาบมีรอยร้าวระดับพื้นผิว พื้นคอนกรีตทางเดินเท้าทรุดตัว หรือเป็นรอยร้าวจากการทรุดตัวเดิม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม ยืนยันว่าบุคลากรและนักศึกษาสามารถเข้าใช้งานอาคารได้ตามปกติ พร้อมขอบคุณบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม กองอาคารและสถานที่ กองสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกองป้องกันและรักษาความปลอดภัย ที่ได้ร่วมกันดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงและแผนการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี   อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยขอนแก่นขอความร่วมมือบุคลากรและนักศึกษาทุกส่วนงาน หากพบรอยแตกร้าวที่บริเวณเสาหรือคาน โดยเฉพาะรอยร้าวแนวเฉียงทแยง หรือรอยแตกร้าวเดิมที่ขยายขนาดเพิ่มขึ้น ขอให้แจ้งข้อมูลไปยังฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม หรือกองอาคารสถานที่ เพื่อให้ทีมงานเข้าสำรวจและประเมินแนวทางการซ่อมแซมต่อไป 

มั่นใจได้! มข.ยืนยันแผ่นดินไหวไม่กระทบโครงสร้างอาคาร บุคลากร-นักศึกษาใช้งานได้ตามปกติ Read More »

จอยเลย! มข.ออกแบบ KKU Emergency Alert แจ้งเตือนแผ่นดินไหวผ่าน Google Chat

ฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าใช้ระบบอัจฉริยะ KKU IntelSphere ออกแบบ KKU Emergency Alert แจ้งเตือนแผ่นดินไหวพิกัดไม่เกิน 2,000 กิโลเมตรจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่าน Google Chat  จากกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูดในประเทศเมียนมา โดยแรงสั่นสะเทือนบางส่วนรับรู้ได้ถึงประเทศไทย รวมถึงในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะภายในอาคารสูงของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ล่าสุด วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้นำเทคโนโลยี KKU IntelSphere มาประยุกต์ใช้ในการสร้างระบบแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหว KKU Emergency Alert โดยดึงข้อมูลจาก U.S. Geological Survey (USGS) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการส่งการแจ้งเตือนผ่านระบบ KKU Google Chat สำหรับ KKU Emergency Alert ตั้งค่าระยะห่างรัศมีการแจ้งเตือนไว้ที่ 2,000 กิโลเมตรจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมกำหนดระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่ต้องการให้มีการแจ้งเตือน เบื้องต้นตั้งไว้ที่ 4.5 แมกนิจูด

จอยเลย! มข.ออกแบบ KKU Emergency Alert แจ้งเตือนแผ่นดินไหวผ่าน Google Chat Read More »

นักวิชาการ มข.แนะวิธีเอาตัวรอด เมื่อเผชิญเหตุแผ่นดินไหว

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เมื่อเวลา 13.20 น. เกิดแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเมียนมา ที่ละติจูด 21.682 องศาเหนือ ลองติจูด 96.121 องศาตะวันออก ขนาด 7.7 ความลึก 10 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 326 กม. โดยมีประชาชนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย รวมถึงจังหวัดขอนแก่น ล่าสุด ผศ.เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีรับมือเมื่อเผชิญกับแผ่นดินไหวว่า หากอยู่ในอาคารหรือตึกสูงและไม่สามารถออกมาภายนอกได้ สิ่งที่ควรทำคือ การตั้งสติ ห้ามลงลิฟต์ หลบใต้โต๊ะที่ใกล้ที่สุดเพื่อป้องกันสิ่งของตกใส่ตัว หรือหากไม่มีโต๊ะ ให้ยืนใกล้เสา หรือคาน เพราะเป็นโครงสร้างที่จะรองรับน้ำหนักได้ดีที่สุดอย่างไรก็ตาม กรณีที่สามารถออกจากอาคารได้ ให้วิ่งออกจากอาคารโดยเร็วที่สุด แล้วไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง ไม่ยืนใต้ต้นไม้ หรือสะพาน ส่วนผู้ที่อยู่บนรถยนต์ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ควรจอดรถทันที และนั่งรออยู่ในรถจนกว่าเหตุการณ์จะสงบ ขณะที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ออกประกาศเรื่อง สถานการณ์แผ่นดินไหวภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีรายละเอียด ระบุว่า แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่โครงสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยสามารถรองรับได้

นักวิชาการ มข.แนะวิธีเอาตัวรอด เมื่อเผชิญเหตุแผ่นดินไหว Read More »

ประกาศสรรหาคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ด้วยสภามหาวิทยาลัยจะดำเนินการสรรหาคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินการสรรหาคณบดี ด้วยวิธีการเปิดรับสมัครทั่วไปเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://council.kku.ac.th/ ทั้งนี้ เปิดรับสมัครผู้ประสงค์เข้าสู่กระบวนการสรรหาผู้สมควรได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งคณบดีในระหว่างวันที่ 9 – 22 เมษายน 2568 ขณะที่บุคลากรของส่วนงานผู้มีสิทธิเสนอชื่อที่ประสงค์จะเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งคณบดี ให้เสนอชื่อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างวันที่ 9 – 22 เมษายน 2568 เช่นเดียวกัน 1 เอกสารประกอบการสรรหาคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ 2 แบบฟอร์มการสมัครเข้ารับการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการสรรหาผู้สมควรดำรงตำแหน่งคณบดี

ประกาศสรรหาคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Read More »

เลื่อนไปด้านบน